Forex เริ่มต้นที่นี่

คลังความรู้แห่งForex

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

กราฟแท่งเทียนเซียนต้องรู้!!!



****กราฟแท่งเทียนเซียนต้องรู้!!!****




                        Munehisa Homma (本間 宗久 Honma Munehisa?) (บางครั้งก็เรียกว่า Sokyu Homma, Sokyu Honma) (1724-1803), เป็นพ่อค้าข้าวจากเมือง ซาคาตะ ประเทศญี่ปุ่นบิดาแห่งกราฟแท่งเทียน คือ                    









รูปจาก https://vsathai.files.wordpress.com/2013/04/homma_munehisa.gif


                             ประวัติศาสตร์ที่เราจะกล่าวถึง เริ่มจากปลาย ค.ศ.1500 ถึงกลาง 1700 ยุคนี้ญี่ปุ่นได้มีการรวม 60 จังหวัดเข้าเป็นประเทศหนึ่งเดียวและมีความเจริญรุ่งเรื่องทางด้านการค้าขาย ช่วงร้อยปีแรก ค.ศ.1500-1600 ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีศึกสงครามไม่หยุดหย่อน เพราะเจ้าเมือง (daimyo) แต่ละเมืองต่างช่วงชิงดินแดนที่อยู่ติดกัน ยุคช่วง 100 ปีนี้เราเรียกกันว่ายุค เซนโกกุ เจไดหรือยุคสงครามในประเทศ เป็นยุคที่ไร้ขื่อแป จนกระทั่งต้น ค.ศ.1600 เหลือ 3 ขุนพลผู้ยิ่งใหญ่ที่มีนามว่า โนบุนากะ โอดะ, ฮิเดโยชิ โตโยโตมิ และ อิยะสึ โตกุกาวะ ได้รวบรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวโดยใช้เวลาร่วม 40 ปี ความกล้าหาญและความสำเร็จของพวกเขาได้รับการยกย่องสรรเสริญในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นและเป็นประเพณีความเชื่อของชาวบ้าน มีคนญี่ปุ่นนิยมพูดกันว่า โนบุนากะ เอาข้าวมากอง ฮิเดโยชิ นวดให้เป็นแป้ง และ โตกุกาวะ กินเค๊กกล่าวคือ ทั้งสามขุนพลมีส่วนช่วยให้ญี่ปุ่นรวมเป็นหนึ่งเดียว แต่คนสุดท้ายคือ โตกุกาวะ กลับได้เป็น โชกุน ตระกูลนี้ขึ้นปกครองประเทศตั้งแต่ช่วง ค.ศ.1615-1867 ยุคนี้เรียกว่ายุค โชกุน โตกุกาวะ”                      
                
             ด้วยสภาวะสงครามที่แผ่กระจายไปทั่วญี่ปุ่นนับร้อยๆปี ทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของคำนิยามของกราฟแท่งเทียน ถ้าเราคิดต่อก็จะพบว่า การค้าขายจำเป็นต้องใช้ทักษะแบบเดียวกันเพื่อชนะสงคราม ทักษะดังกล่าวหมายรวมถึง กลยุทธ์, จิตวิทยา, การแข่งขันแย่งชิง, การถอยร่นอย่างมีชั้นเชิง และแน่นอนว่า ต้องมีโชคช่วยด้วย ดังนั้นเราไม่ต้องแปลกใจไปเลยที่จะพบคำนิยามเกี่ยวกราฟแท่งเทียนที่มีพื้นฐานมาจากสภาวะสงครามนั่นเอง เช่นการโจมตีช่วงเช้า การโจมตีรอบดึก รูปแบบการรุกคืบด้วยสามทหารเสือ แนวปะทะข้าศึก ป้ายชื่อหลุมศพ เป็นต้น                           
  

                 ฮิเดโย ชิ โตโมโตมิ ให้ความสำคัญกับเมือง โอซาก้า ในฐานะเมืองหลวง และสนับสนุนให้มีความเจริญเติบโตเป็นศูนย์กลางทางการค้า เมืองโอซาก้า มีความสะดวกในการเดินทางออกทะเล ยุคนั้นการเดินทาง ทางบก ล่าช้า มีอันตราย และมีค่าใช้จ่ายมาก ทำให้เมืองโอซาก้า กลายเป็นคลังสินค้าระดับชาติ เพื่อรวบรวมและกระจายสินค้า ทำให้เมืองนี้ถูกพัฒนาเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่สำหรับการค้าและการเงิน ความมั่งคั่งและคลังสินค้าขนาดใหญ่ ทำให้ถูกขนานนามว่าเป็น ครัวของญี่ปุ่นเมืองโอซาก้ามีส่วนช่วยให้ราคามีเสถียรภาพด้วยการลดความแตกต่างของราคาจากต่างภูมิภาค วิถีชีวิตในโอซาก้าถูกซึมซับให้แสวงหาแต่ผลกำไร (ต่างจากเมืองอื่นๆที่มองว่าการหาเงินเป็นเรื่องที่ชั่วร้าย น่ารังเกียจ) ระบบสังคมในยุคนั้นถูกแบ่งเป็น 4 ชนชั้น เริ่มจากชนชั้นสูงสุดคือ นักรบ, ชาวนา, ช่างฝีมือ และ พ่อค้า มันใช้เวลานานมากจนกระทั่งถึงช่วง ค.ศ.1700 ชนชั้นพ่อค้า ได้ทะลายกำแพงระหว่างชนชั้นในสังคมให้หมดสิ้นไป กระทั่งปัจจุบัน ธรรมเนียมการทักทายในโอซาก้าก็คือว่า โมการิ มัคคาแปลว่า เป็นไงบ้าง ทำกำไรหรือเปล่า”                      


                นายหน้าค้าข้าว กลายเป็นผู้วางรากฐานความรุ่งเรืองของเมืองโอซาก้า มีนายหน้าค้าข้าวเกิดขึ้นมากกว่า 1300 ราย เนื่องจากไม่มีมาตรฐานทางด้านเงินตรา ข้าวจึงกลายเป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนไปโดยปริยาย (ก่อนหน้านี้ก็มีความพยายามอย่างหนักที่จะจัดตั้งระบบเงินตรา แต่ก็ล้มเหลวเพราะปัญหาเงินปลอมระบาด) เมื่อไหร่ที่เจ้าเมือง (daimyo) ต้องการเงิน ก็จะส่งข้าวส่วนที่เกินไปยังโอซาก้า และข้าวถูกนำไปเก็บไว้ที่โกดังในชื่อของเจ้าเมืองนั้นๆ เจ้าเมืองก็ได้รับใบเสร็จหรือคูปอง และสามารถขายคูปองเมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ อันนี้ก็ก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินแก่บรรดาเจ้าเมืองทั้งหลายอีก เพราะมีการขายคูปองไปแล้วเจอการเรียกเก็บภาษีข้าว (เพราะภาษีต้องจ่ายคืนเป็นข้าว โดยปกติก็ประมาณ 40%-60% ของผลผลิตข้าวจากชาวนา) บางครั้งโดนเข้าไปหลายปี สุดท้ายก็ต้องจดจำนอง                   
              คูปองเหล่านี้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง คูปองถูกขายออกไปก่อนที่จะมีการส่งมอบข้าวจริงๆในอนาคต และกลายเป็นสัญญาซื้อขายสินค้าล่วงหน้าแห่งแรกในโลก ตลาดแลกเปลี่ยนข้าวที่โดจิมะ สถานที่ซึ่งคูปองถูกซื้อขาย กลายเป็นตลาดสินค้าล่วงหน้าแห่งแรกในโลก คูปองข้าวเหล่านี้ บางครั้งถูกเรียกว่า คูปองเปล่า” (เพราะว่าไม่มีข้าวจริงๆรองรับ) เพื่อจะให้เห็นภาพว่ามันได้รับความนิยมยังไง ลองพิจารณาสิ่งนี้ ในปี ค.ศ.1749 มีคูปองข้าวอยู่ 110,000 เกวียนที่มีการซื้อขายกันในโอซาก้า แต่ข้าวจริงๆทั้งประเทศมีแค่ 30,000 เกวียน หรือเกือบ 4 เท่าของข้าวที่มีอยู่จริงคราวนี้มาถึงรอบของ Homma ผู้มีฉายาว่า พระเจ้าของตลาด” Munehisa Homma เกิดในตระกูลมั่งคั่งปี ค.ศ.1724 ตระกูลนี้เรียกได้ว่ามั่งคั่งในยุคนั้น จนมีการพูดกันติดปากที่ว่า ถึงแม้ฉันจะไม่ได้เกิดในตระกูล Homma แต่ฉันก็ขอให้ได้เป็นพระเจ้าในถิ่นฉันก็ได้และเมื่อ Homma ได้รับมอบหมายให้ดูแลธุรกิจของครอบครัวในปี ค.ศ.1750 เขาได้เริ่มทำการค้าในตลาดท้องถิ่นในเมืองท่าของซากาตะ ที่ซึ่งเป็นแหล่งรับ/จำหน่ายข้าว เนื่องจาก Homma มีถิ่นกำเนิดที่เมืองซากาตะ เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า กฎของซากาตะในตำรากราฟแท่งเทียนของญี่ปุ่น สิ่งนี้หมายถึงตัว Homma นั่นเอง           
                     เมื่อบิดาของ Homma เสียชีวิตลง นาย Munehisa ก็ถูกวางตัวให้เป็นทายาท ผู้รับผิดชอบทรัพย์สินของตระกูล เหมือนเจตนาให้ร้าย เพราะเขาเป็นลูกชายคนสุดท้อง (ปกติลูกชายตนโต ถึงจะมีสิทธิรับสืบทอดมรดกอันนี้) นี่อาจจะเป็นเพราะความหลักแหลมของ Munehisa เริ่มจากเงินก้อนนี้ Homma เดินทางเข้าสู่ตลาดแลกเปลี่ยนข้าวที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น โดจิมะ ในโอซาก้า และเริ่มซื้อขายสัญญาค้าข้าวตระกูลของ Homma มีนาข้าวมากมาย เท่ากับว่ามีพลังอำนาจอยู่ในมือ นอกจากนั้น Homma ยังเก็บบันทึกสภาพอากาศของแต่ละปี การที่จะเรียนรู้จิตวิทยาของนักลงทุน Homma ได้ทำการวิเคราะห์ราคาข้าวย้อนหลัง ไปถึงยุคของ โยโดยะ แถมยังติดตั้งระบบติดต่อสื่อสารส่วนตัว ในช่วงแรกๆก็ใช้คนไปยืนบนหลังคาแล้วส่งสัญญาณธง คนเหล่านี้ต่อสายตรงจาก โอซาก้า มายัง ซากาตะ                           

            หลังจากที่คุมตลาดที่โอซาก้าเบ็ดเสร็จแล้ว Homma ก็เดินทางไปค้าที่ตลาดเอโดะ (ปัจจุบันก็คือโตเกียว) เขาได้ใช้ข้้อมูลภายในสะสมความมั่งคั่งไว้มากมาย มีการกล่าวขวัญถึงขนาดที่ว่า ซื้อขายติดกัน 100 รอบไม่เคยแพ้                              
           

          ความมีชื่อเสียงโด่งดัง ถึงขนาดมีการแต่งเพลงพื้นบ้านจากเอโดะ เมื่อไหร่พระอาทิตย์ขึ้นที่ซากาตะ (บ้านเดิมของ Homma) เมื่อนั้นมีเมฆปกคลุมที่โดจิมะ (ตลาดแลกเปลี่ยนที่โอซาก้า) และฝนจะตกที่ คูระมาเอะ (ตลาดแลกเปลี่ยนที่เอโดะ) หรือความหมายอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อมีการเกี่ยวข้าวได้ดีที่ซากาตะ ราคาข้าวที่โดจิมะ จะร่วง และจะพังทลายที่เอโดะ เพลงนี้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของ Homma ที่มีต่อตลาดค้าข้าวในปีต่อๆมา Homma ได้กลายเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับรัฐบาล และได้รับการปูมรางวัลเป็น ซามูไร และเสียชีวิตในปี ค.ศ.1803 ตำราของ Homma (ซากาตะ เซนโอะ และ โซบะ ซานิ โนะ เด็น) มีการพูดถึงว่าเขียนขึ้นในช่วงศตวรรษ 1700 หลักการค้าที่ใช้กับตลาดค้าข้าว ได้ถูกพัฒนาขึ้นจนเป็น วิถีของกราฟแท่งเทียนที่ใช้ในญี่ปุ่นตราบจนปัจจุบัน                                   
            

                ความมีเสถียรภาพบังเกิดขึ้นได้ด้วย ระบบขุนนางรวมศูนย์ ที่นำโดย โตกุกาวะ และก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ เศรษฐกิจยุคเกษตรกรรมเจริญรุ่งเรือง แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า กลับกลายเป็น มีการขยายตัวและมีความสะดวกในทางการค้า จนมาถึงศตวรรษที่ 17 ตลาดการค้าระดับประเทศได้ถูกพัฒนาขึ้น จนทดแทนระบบค้าขายแบบรายภูมิภาคหรือตลาดแบบแยกส่วน แนวคิดตลาดรวมศูนย์เป็นการปูทางนำไปสู่การพัฒนาทางอ้อมของการใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคในประเทศญี่ปุ่น         
            
              ในเมืองโอซาก้า โยโดยะ เคเอียน เป็นพ่อค้าสงครามให้กับ ฮิเดโยชิ และ โยโดยะ มีความสามารถมากในการเคลื่อนย้าย จัดจำหน่าย หรือกระทั่งกำหนดราคาขายข้าว ทำให้ลานหน้าบ้านของ โยโดยะ กลายเป็นสถานที่สำคัญ เพราะที่นั่นคือสถานที่การแลกเปลี่ยนข้าว ที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นที่แรก เขาได้กลายเป็นผู้มั่งคั่งมาก จนกลายเป็นรวยเกินไป จนกระทั่งปี ค.ศ.1705 บาฟูกุ (ทหารรัฐบาลที่นำโดยโชกุน) เข้าทำการยึดทรัพย์ทั้งหมดที่มีอยู่มากมาย ในข้อหา การมีชีวิตที่สุขสบายไม่เหมาะสมกับฐานะทางสังคมของเขา บาฟุกุ หวั่นกลัวต่ออำนาจที่เพิ่มมากขึ้นของพวกพ่อค้า ในปี ค.ศ.1642 เจ้าหน้าที่ทางการและพ่อค้าบางกลุ่มพยายามจะทำให้ตลาดค้าข้าวจนมุม บทลงโทษร้ายแรงมากขนาด ประหารชีวิตลูกหลาน พ่อค้าถูกเนรเทศ ทรัพย์สมบัติถูกยึดตลาดค้าข้าวที่แต่เดิมเริ่มต้นพัฒนาขึ้นที่ลานหน้าบ้านของโยโดยะ ถูกยกระดับเป็นสถาบันหลังจากที่ตลาดแลกเปลี่ยนข้าวโดจิมะ ถูกจัดตั้งขึ้นในปลายศตวรรษ 1600 ในเมืองโอซาก้า พ่อค้าในตลาดแลกเปลี่ยนมีการคัดแยกเกรดของข้าว และการต่อรองราคาได้เริ่มต้นขึ้น จนกระทั่งปี ค.ศ.1710 ตลาดแลกเปลี่ยนข้าวได้เริ่มต้นออกใบเสร็จรับโกดังข้าว ใบเสร็จนี้เรียกว่า คูปองข้าวใบเสร็จเหล่านี้สุดท้ายก็กลายมาเป็น สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ future contracts ที่เรารู้จักกัน                           
ที่มา...https://vsathai.wordpress.com/category/กราฟแท่งเทียน/







               


                





นี้เป็น คลิป อธิบายครับ
                                                                      ให้เครดิด By Forex D Net



5- Candlestick Signals and Patterns


                                                                                 เครดิต Chris Pottorff






                                ชอบกดแชร์เลยครับ.....

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เปิดบัญชี

XM

EXNESS

FBS

Know Us

Breaking News

Follow us

Contact Us

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *